นักวิจัย ม.มิชิแกน ทดสอบการใช้ LED ในการทำความเย็น ทีมวิจัยสร้างเครื่องวัดอุณหภูมิขนาดเล็กวางในสุญญากาศ และต่อ LED อินฟราเรด ย้อนกระแส ทีมพบว่าเมื่อ LED ทำงาน อุณหภูมิที่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะ ศ. เรดดี้ กล่าว “อุปกรณ์ขนาดเล็กของเราลดอุณหภูมิได้ในระดับมิลลิเคลวิน แต่หากเราสามารถปรับปรุงขนาดได้ เราจะพบว่ามันสามารถลดอุณหภูมิได้ถึง 6W/M2 ทีเดียว” “เราสามารถปรับปรุงประสิทธิภาได้ถึง 2 เท่า” เขากล่าวต่อ ปรากฏการณ์นี้เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1960 โดยชาวรัสเซีย แต่นักวิทยาศาสตร์มักสมมติฐานบนพื้นฐานของอุปกรณ์สมัยนั้นว่าเราไม่สามารถทำความเย็นได้มากด้วยวิธีดังกล่าว แต่ทีมเราพบว่าการคำนวณในปี 1980 สามารถใช้วิธีอื่นในการทำให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพได้ htps://www.futurity.org/leds-computer-cooling-1984712/
คูมาตานิ แห่งม. โตโฮกุ ประสบความสำเร็จในการใช้กราฟมันเจือไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในการเปลี่ยนน้ำเป็นไฮโดรเจน คูมาตานิ อาศัยแบบจำลองคณิตศาสตร์ทำนายความสามารถในการเร่งการเปลี่ยนน้ำเป็นไฮโดรเจนของกราฟีนที่เจือไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เขากล่าวว่าไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นธาตุดีสุดในการช่วยกราฟีนในปฏิกิริยาอิโลกโตรไลซิส การค้นพบนี้สามารถนำไปใช้ใน Fuel Cell โดยไม่ต้องใช้ถังแรงดันสูงเช่นกัน ที่มา https://www.tohoku.ac.jp/en/press/mathematically_designed_graphene.html
เร็วๆนี้นักวิจัยจากม. แมนเชสเตอ์์ประสบความสำเร็จในการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำด้วยกราฟีน นักวิจัยพบว่าเมื่อนำกราฟีนที่มีแพลทตินัมเกาะอยู่สามารถทำปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์เปลี่ยนน้ำเป็นไฮโดรเจนได้ถึง 10000 อะตอมต่อ 1 โฟตอน นั่นหมายถึงเราอาจใช้น้ำเป็นแหล่งจ่ายพลังงานแก่ Fuel Cell ในอนาคตโดยไม่จำเป็นต้องใช้ถังแรงดันสูงอีกต่อไป และหากเราทำการค้นคว้า อาจใช้เอทานอล/บิวทานอลที่มีไฮโดรเจนต่อมวลมากกว่าได้ ที่มาhttps://www.nature.com/articles/s41565-017-0051-5
ในเซลล์แสงอาทิตย์นั้นไฟฟ้าเกิดจากอิเล็กตรอนที่หลุดจากรอยต่อของสารกึ่งตัวนำำ โดยแสงที่มีพลังงานถึงค่าของรอยต่อนั้นอาจผลักอิเล็กตรอนให้หลุดและเคลื่อนที่ไปในวงจร กราฟีนมีลักษณะพิเศษแสงที่มีพลังงานถึงอาจจะผลักให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาสู่วงจรได้มากถึง 5 ตัว ในทฤษฏีวัสดุที่มีความหนาแน่นอิเลกตรอนสูงนี้เรียกว่า Van Hove Singularity เราพยายามสร้างมันจากการประกบ กราฟีนและโบรอนไนไตด์ ที่มา https://www.futurity.org/photon-electron-partners-1163012-2/
ภายหลังความสำเร็จของการเข้ารหัสแบบ PCM และ FM Modulation ทำให้การบันทึกข้ อมูลแบบดิจิตอลเป็นไปได้ สื่อบันทึกข้อมูลแสงแรกได้รับการนำไปใช้กับการบันทึกวีดีทัศน์ David Pual Gregg และ John Russell ทำการบันทึกวิดีทัศน์ลงแผ่นโปร่งแสงในปี 1958 และได้รับสิทธิบัตรในปี 1970 และ 1990 แผ่นบันทึกวีดิทัศน์นี้ได้รับชื่อว่า เลเซอร์ดิสก์ David และJohn ขายสิทธิบัตรให้บริษัท MCA เลเซอร์ดิสก์ในงานวิดิทัศน์นั้นดีกว่าสื่ออนาลอกหลายอย่าง ทั้งความชัด ละเอียดและการไม่ลดทอนคุณภาพหลังใช้งาน ไปจนถึงการทำสำเนาแบบไม่ลดคุณภาพ ต่างจากสื่อบันทึกอนาล็อกในขณะนั้นคือเทปแม่เหล็ก VHS และ Betamax อย่างไรก็ตามเลเซอร์ดิสก์ไม่ค่อยได้รับความนิยมที่อเมริกานัก ด้วยราคาเครื่องเล่นที่สูง ตลาดส่วนมากจึงเป็นญี่ปุ่น และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังมีการพัฒนาไปสู่เครื่องเล่นเสียง โดยบริษัท Sony และ Phillip เรียกว่า CD ในปีพ.ศ. 2527 CD-ROM ถือกำเนิด ทำให้การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพิ่มจาก 1.44MB ในฟลอปปี้ดิสก์ เป็น 700MB…
Read more